empty

ราคาของคู่สกุลเงินทั้งสองนั้นจะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ (เพิ่มขึ้นหรือลดลง) ในกรณีที่เราให้ข้อมูลแค่ว่าตอนนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังอยู่ในขาลง อาจไม่ชัดเจนเท่ากับการที่เราบอกว่าตอนนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกำลังอยู่ในขาขึ้นถ้าเทียบกับสกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย แต่อยู่ในขาลงหากเทียบกับเงินยูโร เนื่องจากการซื้อขายค่าเงินมักจะกระทำเป็นคู่เสมอ เราจึงใช้เครื่องหมาย (/) ในการเปรียบเทียบค่าเงินทั้งสองสกุลซึ่งเมื่อเขียนออกมาจะได้ลักษณะดังต่อไปนี้: EUR/USD


ราคาคู่สกุลเงินสัมพันธ์กับอัตราส่วนราคาค่าเงินของแต่ละสกุล โดยยกตัวอย่างเช่นราคาคู่สกุลเงิน EUR/USD จะเป็นตัวแสดงว่าคุณต้องใช้เงินกี่ดอลลาร์สหรัฐเพื่อซื้อเงิน 1 ยูโร สกุลเงินแรกคือค่าเงินหลักและสกุลเงินที่สองคือค่าเงินอ้างอิง (ค่าเงินรอง) โดยเงินยูโรถือเป็นค่าเงินหลักที่นำมาใช้ในการเปรียบเทียบกับค่าเงินหลักอื่นๆทั่วโลก คู่สกุลเงินหลักมีดังต่อไปนี้:


สัญลักษณ์ ชื่อ คำเรียกท้องถิ่น
EUR/USD คู่สกุลเงินยูโร และดอลลาร์สหรัฐ เงินยูโร
USD/JPY คู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยน สกุลเงินเยน
GBP/USD คู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์ เงินปอนด์ หรือคู่สกุลเงินปอนด์และดอลลาร์สหรัฐ
USD/CHF สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและฟรังก์ สกลุงเินจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์
AUD/USD คู่สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลียและดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย(aussie)
USD/CAD คู่สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและดอลลาร์แคนาดา สกุลเงินดอลลาร์แคนาดา(loonie)
NZD/USD สกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์และดอลลาร์สหรัฐ สกุลเงินดอลลาร์นิวซีแลนด์(Kiwi)

คู่สกุลเงินหลักที่มีการซื้อขายกันในตลาด Forex อยู่ที่ราว 75 เปอร์เซ็นต์ของการเทรดทั้งหมดคือ EUR/USD, GBP/USD, USD/CHF และ USD/JPY ซึ่่งเราจะเห็นได้ว่าสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐถูกแสดงอยู่ในทุกคู่สกุลเงิน ดังนั้นหากคู่สกุลเงินไหนมีค่าเงินดอลลาห์สหรัฐประกอบอยู่ด้วย เราก็จะถือว่าคู่สกุลเงินนั้นเป็นคู่สกุลเงินหลัก คู่สกุลเงินคู่ไหนก็ตามที่ไม่ได้มีสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐประกอบอยู่ด้วยนั้นเรียกว่าคู่สกุลเงินผสม (cross currency pairs) หรือเรียกว่าอัตราส่วนผสม (cross rates) โดยสกุลเงินที่ปรากฏอยู่ด้างล่างนี้เป็นสกุลเงินที่มีการซื้อขายกันอย่างแข็งขันมากที่สุด Forex


สัญลักษณ์ ชื่อ
EUR/CHF euro-franc
EUR/GBP euro-sterling
EUR/JPY euro-yen
GBP/JPY sterling-yen
AUD/JPY aussie-yen
NZD/JPY kiwi-yen



GBP/USD
วันพุธทมิฬ หรือ Black Wednesday ในปี 1992
GBP/USD
วันพุธทมิฬ หรือ Black Wednesday ในปี 1992
ทีนี้เรามาลองพิจารณาถึงเหตุการณ์โดดเด่นที่สุดในประวัติศาสตร์ของคู่สกุลเงินกันบ้าง
ความเคลื่อนไหวที่น่าสนใจมากที่สุดครั้งหนึ่งใน Forex market history ือสถานการณ์ค่าเงินปอนด์ของประเทศอังกฤษเมื่อวันที่ 16 กันยายน ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 2535 เราเรียกวันนี้ว่าวันพุธทมิฬ หรือในภาษาอังกฤษคือ “Black Wednesday” ซึ่งเป็นวันที่ค่าเงินปอนด์ตกต่ำมากที่สุด โดยดูได้จากราคาคู่สกุลเงิน GBP/DEM (เงินปอนด์อังกฤษกับเงินมาร์กเยอรมัน) และ GBP/USD (เงินปอนด์อังกฤษกับเงินดอลลาร์สหรัฐ)
ราคาเงินปอนด์อังกฤษตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนถึงธันวาคม ปี 2535 นั้นตกลงมาถึง 25 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ (จาก 2.01 ลงไปถึง 1.51 GBP/USD)

คนส่วนใหญ่พูดถึงสาเหตุการเกิดวิกฤติเงินปอนด์ ครั้งนั้นว่าเป็นเพราะการที่สหราชอาณาจักรเข้าร่วมกับระบบเงินตราของยุโรป โดยมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่แน่นอนเอาไว้ รวมถึงเหตุการณ์อื่นๆเช่นเพิ่งมีการเลือกตั้งรัฐสภา เหตุการณ์การลดผลผลิตทางอุตสาหกรรม เหตุการณ์ที่ธนาคารกลางของประเทศอังกฤษมีความพยายามที่จะควบคุมอัตราดอกเบี้ยของสกุลเงินมาร์กเยอรมันให้มีดุลยภาพ รวมไปถึงการที่นักลงทุนจำนวนมากไหลออกจากตลาด ในขณะเดียวกันเนื่องจากความสามารถในการทำกำไรในตลาดสกุลเงินเยอรมันเป็นตัวเลือกที่น่าดึงดูดสำหรับนักลงทุนมากกว่าตลาดสกุลเงินอังกฤษ ด้วยเหตุผลทั้งมวลที่ว่านี้นักเก็งกำไรจึงเร่งขายเงินปอนด์อังกฤษทิ้งเพื่อไปซื้อเงินมาร์กเยอรมันและดอลลาร์สหรัฐแทน โดยผลลัพธ์ของวิกฤตทางการเงินดังกล่าวมีดังนี้: อัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอย่างฉับพลันจาก 10 เปอร์เซ็นต์ เป็น 15 เปอร์เซ็นต์ อีกทั้งรัฐบาลแห่งสหราชอาณาจักรยินยอมที่จะปรับลดค่าเงินปอนด์และถอนตัวจากระบบเงินตรายุโรป ท้ายที่สุดค่าเงินปอนด์ก็กลับสู่ระบบอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัว (Floating Exchange Rate)เช่นเดิม



USD/JPY
วิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ในปี
USD/JPY
วิกฤตการณ์ทางการเงินในภูมิภาคเอเชีย ในปี
คู่สกุลเงินอีกคู่ที่น่าสนใจคือสกุลเงินดอลล่าร์สหรัฐกับเงินเยน (USD/JPY) ซึ่งถือเป็นสกุลเงินลำดับที่สามของสกุลเงินที่มีการซื้อขายมากที่สุด รองจาก EUR/USD และ GBP/USD โดยคู่สกุลเงิน USD/JPY มีการซื้อขายอย่างแข็งขันที่สุดในช่วงรอบการซื้อขายในเอเชีย โดยปกติแล้วความเคลื่อนไหวของคู่สกุลเงินนี้จะเป็นไปในทิศทางที่ราบรื่น กล่าวคือคู่สกุลเงิน USD/JPY จะตอบสนองอย่างรวดเร็วต่อความเสี่ยงสูงสุดในตลาดการเงินเท่านั้น ตั้งแต่ช่วงกลางยุค 80 ค่าเงินเยนเริ่มแข็งค่าขึ้นอย่างมากเทียบกับเงินดอลล่าร์สหรัฐ แต่ในช่วงต้นของยุค 90 เศรษฐกิจในประเทศญี่ปุ่นกลับชะงักตัว อัตราการว่างงานเพิ่มขึ้น รายได้และค่าจ้างรายวันลดลง รวมไปถึงมาตรฐานการใช้ชีวิตของคนชนบทก็ตกต่ำลงด้วย

ตั้งแต่ช่วง ปี 1980 เป็นต้นมานั้น สกุลเงินเยนได้เริ่มปรับตัวขึ้นอย่างมากเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ ส่วนในช่วงต้นปี 1990 เป็นต้นมานั้นการพัฒนาทางเศรษฐกิจได้ฉุดประเทศญี่ปุ่นลง เนื่องด้วยมีการว่างงานเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งรายได้และค่าจ้างก็ปรับตัวลงด้วยเช่นกัน และมาตรฐานชีวิตของประชากรอีกด้วยที่ได้รับผลกระทบ

และนับตั้งแต่ต้นปี 2534 การที่เศรษฐกิจชะงักตัวเป็นตัวการที่ทำให้องค์กรทางการเงินหลายแห่งในประเทศญี่ปุ่นประสบกับภาวะล้มละลาย ท้ายที่สุดแล้วระบบการเงินในตลาดหลักทรัพย์โตเกียวก็ล้มระเนระนาด เงินเยนลดค่าลง หลังจากนั้นบริษัทผู้ผลิตต่างๆก็เริ่มประสบกับภาวะล้มละลายไปตามๆกัน ในปี 2538 ก็มีการบันทึกค่าเงินต่ำสุดของคู่สกุลเงิน USD/JPY ที่ราคา -79.80

เหตุการณ์ดังกล่าวถือเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตทางเศรษฐกิจเอเชียในปี 2540-2541 ที่จบลงด้วยการแตกตัวของเงินเยน ผลสุดท้ายคือการที่คู่สกุลเงินเยน-ดอลลาร์สหรัฐล้มระเนระนาด โดยตอนนั้นต้องใช้เงิน 115 ถึง 150 เยนในการแลกเงิน 1 ดอลลาร์สหรัฐ

วิกฤตทางเศรษฐกิจดังกล่าวได้ส่งผลกระทบต่อมนุษย์ในเกือบทุกด้าน ตลาด Forex เองก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน แม้ว่าผู้มีส่วนร่วมในตลาด (ธนาคารกลาง ธนาคารพาณิชย์ ธนาคารสำหรับการลงทุน โบรกเกอร์และผู้ต่อรอง รวมทั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญ บริษัทประกันภัย และบริษัทข้ามชาติต่างๆ) จะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ แต่ตลาด Forex ก็ยังดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังคงมั่นคงและสร้างผลกำไรได้มากอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

วิกฤตทางการเงินครั้งนั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงค่าเงินโลกครั้งยิ่งใหญ่ ในช่วงระหว่างที่เกิดวิกฤติ ค่าเงินเยนก็เริ่มแข็งค่าขึ้นจนกลายเป็นค่าเงินที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในสายตาของนักลงทุน สาเหตุหนึ่งที่ทำให้ค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นอาจมาจากการที่นักลงทุนต้องการแหล่งที่พักพิงยามเกิดวิกฤตทางการเงิน ในขณะที่ผู้เชี่ยวชาญท่านอื่นปฏิเสธว่าการที่เงินเยนแข็งค่าขึ้นนั้นไม่ได้มาจากการซื้อขายแบบเก็งกำไรค่าเงินจากส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ย(carry trade deals) ข้อมูลดังที่กล่าวต่อไปนี้แสดงถึงการเปลี่ยนแปลงค่าเงินของคู่สกุลเงินเยนหลักp>


คู่สกุลเงิน มูลค่าก่อนวิกฤต(08/2008) มูลค่าหลังวิกฤต (01/2010) เปลี่ยนเป็น %
USD/JPY 110.38 89.97 -18.5
GBP/JPY 213.50 142.79 -33.22
EUR/JPY 168.48 122.16 -27.5

จากตารางเราจะเห็นได้ว่าค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นกว่า 18 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ เพิ่มขึ้น 27.5% - เมื่อเทียบกับเงินยูโร และเพิ่มกว่า 33% - เมื่อเทียบกับเงินปอนด์ โดยหากเปรียบเทียบกับค่าเงินอื่นๆแล้ว สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐกลายเป็นสกุลเงินที่มีความแข็งค่ามากที่สุดเป็นอันดับสี่ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจ เพราะตามปกติแล้วสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐควรจะเป็นสกุลเงินที่มีความน่าเชื่อถือมากที่สุดในโลก แม้ว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในอเมริกา การล่มของระบบเงินตราในประเทศ การทุ่มเงินกว่า 750,000 ล้านลงไปในแผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจของ Paulson และหนี้ต่างประเทศที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆจนกลายเป็นหลักหมื่นๆล้านดอลล่าสหรัฐ อย่างไรก็ตามนักลงทุนยังคงเชื่อมั่นในค่าเงินของอเมริกา ข้อมูลในตารางด้านล่างนี้เป็นข้อมูลการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเงินเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์


คู่สกุลเงิน มูลค่าก่อนวิกฤต(08/2008) มูลค่าหลังวิกฤต (01/2010) เปลี่ยนเป็น %
EUR/USD 1.5619 1.4328 -8.3
USD/CHF 1.0820 1.0555 -2.5
GBP/USD 1.9774 1.5990 -19.2

จากข้อมูลด้านบนจะเห็นได้ว่าเงินดอลลาสหรัฐเพิ่มขึ้น 8.3 เปอร์เซ็นต์เมื่อเทียบกับเงินยูโร และเพิ่ม 19.2 เปอร์เซ็นเมื่อเทียบกับเงินปอนด์ โดยปัญหาค่าเงินเยนและเงินฟรังค์ตกต่ำก็หายไปด้วย โดยค่าเงินเยนเพิ่มขึ้นกว่า 18.5 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เงินฟรังเพิ่ม 2.5 เปอร์เซ็นต์

หากเปรียบเทียบกับค่าเงินสกุลอื่นๆ เงินยูโรมีความแข็งค่าเป็นอันดับที่12 โดยมีปัจจัยทางลบคือการที่ GDP ตกต่ำและการที่ประเทศที่มีผลผลิตมากที่สุดในโซนยุโรป (เยอรมนี ฝรั่งเศส อิตาลี) กลัวว่าจะเกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอยในยุโรปเนื่องจากมีการรายงานเกี่ยวกับภาวะเศรษฐกิจชะงักงัน ภาวะเงินเฟ้อและหนี้ต่างประเทศก้อนใหญ่ที่ประเทศสมาชิกสหภาพยุโรปกำลังเผชิญ โดยเฉพาะประเทศโปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปนและกรีซ ซึ่งในช่วงหลัง มีบางประเทศขู่ว่าจะถอนตัวจากยูโรโซนอีกด้วย และ สิ่งที่เป็นตัวกระตุ้นให้ค่าเงินยูโรตกต่ำคือการที่นักลงทุนปฏิเสธที่จะลงทุนในสกุลเงินยูโร ทั้งนี้เพื่อที่จะไปลงทุนในสกุลเงินที่ปลอดภัยกว่า (สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐและเงินเยน) โดยด้านล่างเป็นตารางที่แสดงการเปลี่ยนแปลงอัตราค่าเงินเทียบกับเงินยูโร:


คู่สกุลเงิน มูลค่าก่อนวิกฤต(08/2008) มูลค่าหลังวิกฤต (01/2010) เปลี่ยนเป็น %
EUR/CHF 1.6352 1.4747 -8.8
EUR/GBP 0.7900 0.8991 13.8
EUR/AUD 1.6974 1.5658 -7.7

ในช่วงที่เกิดวิกฤติทางการเงิน ค่าเงินยูโรได้อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับค่าเงินหลักๆดังต่อไปนี้ อ่อนค่าลงกว่า 8.3 เปอร์เซ็นต์เทียบกับค่าเงินดอลลาร์สหรัฐ 27.5 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเงินเยน 8.8 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเงินฟรังค์ และ 7.7 เปอร์เซ็นต์เทียบกับเงินดอลลาร์ออสเตรเลีย จากข้อมูลที่กล่าวมาแล้วทั้งหมด เราสามารถยืนยันได้ว่าตลาด Forex นั้นไม่ได้รับผลกระทบหลังจากเกิดวิกฤตเศรษฐกิจโลกเท่าใด ไม่เหมือนตลาดหลักทรัพย์และธุรกิจอื่นๆ แต่ในทางตรงกันข้ามเรากลับได้รับประโยชน์จากเหตุการณ์ดังกล่าว

ผู้มีส่วนร่วมในตลาดหลายหน่วยงานได้รับผลประโยชน์และผลตอบแทนที่น่าพอใจในช่วงระยะเวลาที่เกิดวิกฤติ นักลงทุนหลายท่านเล็งเห็นหนทางในการทำกำไรในช่วงวิกฤติจากการลงทุนในตลาด Forex ก็คงเหมือนกับที่คนจีนพูดไว้ว่าวิกฤติไม่ได้ทำให้เกิดความยุ่งเหยิงทางเศรษฐกิจและความตึงเครียดในสังคมเพียงอย่างเดียว แต่มันยังเป็นเวลาที่เหมาะสมในการลงทุนและแก้ปัญหาต่างๆอีกด้วย


เปิดบัญชี
เปิดบัญชี
ทำการฝากเงิน
ทำการฝากเงิน
หากไม่สะดวกคุยในตอนนี้
ระบุคำถามไว้ได้ใน แชท.
 

Dear visitor,

Your IP address shows that you are currently located in the USA. If you are a resident of the United States, you are prohibited from using the services of InstaFintech Group including online trading, online transfers, deposit/withdrawal of funds, etc.

If you think you are seeing this message by mistake and your location is not the US, kindly proceed to the website. Otherwise, you must leave the website in order to comply with government restrictions.

Why does your IP address show your location as the USA?

  • - you are using a VPN provided by a hosting company based in the United States;
  • - your IP does not have proper WHOIS records;
  • - an error occurred in the WHOIS geolocation database.

Please confirm whether you are a US resident or not by clicking the relevant button below. If you choose the wrong option, being a US resident, you will not be able to open an account with InstaTrade anyway.

We are sorry for any inconvenience caused by this message.